วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตราสารอนุพันธ์

    
ความหมายของตราสารอนุพันธ์
                ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เป็นเครื่องมือทางการเงินประเภทหนึ่งที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง โดยมูลค่าของตราสารอนุพันธ์จะอ้างอิงกับมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยที่สินทรัพย์อ้างอิงอาจจะเป็นสินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น พันธบัตร เงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หรือเป็นสินทรัพย์ โภคภัณฑ์ (Commodities) เช่น ข้าว ยางพารา น้ำมัน ทองคำ เป็นต้น

ประเภทของตราสารอนุพันธ์
            ตราสารอนุพันธ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะของสัญญาคือ
ฟอร์เวิร์ด (Forward)
           เป็นสัญญาระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่จะซื้อ/ขายสินทรัพย์อ้างอิง โดยตกลงราคากันในวันนี้ เพื่อส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต การตกลงซื้อขายสัญญาเกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดสถานที่หรือเรียกว่า ซื้อขายแบบ Over – The – Counter (OTC) และมีการกำหนดรายละเอียดของสัญญาตามความต้องการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย
ฟิวเจอร์ส (Futures)
             เป็นสัญญาที่จะซื้อจะขายสินทรัพย์อ้างอิง โดยตกลงราคาในวันนี้ แต่ส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต เมื่อตกลงกันแล้วจะต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นจะบิดพลิ้วไม่ได้ ฟิวเจอร์สเป็นสัญญาที่ซื้อขายในตลาดที่เป็นทางการ (Exchange) ลักษณะของสัญญาจึงเป็นแบบมาตรฐานมีการกำหนดรายละเอียดของสัญญาอย่างชัดเจน

ลักษณะของสัญญาฟอร์เวิร์ดและฟิวเจอร์ส
 สินทรัพย์อ้างอิง  (Underlying Asset)
              เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าใจตรงกันว่า ตกลงจะซื้อจะขายสินทรัพย์ที่มีคุณภาพเป็นอย่างไร เช่น สินทรัพย์อ้างอิงเป็น หุ้น พันธบัตร เงินตราต่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ดัชนีราคาหลักทรัพย์ ข้าว ยางพารา น้ำมัน ทองคำ เป็นต้น
ขนาดของสัญญา  (Contract Size)
               กำหนดว่า 1 สัญญาเป็นการซื้อขายสินทรัพย์อ้างอิงเป็นจำนวนเท่าใด เช่น  1 สัญญา เป็นการตกลงซื้อขายยางพารา 1,000 กิโลกรัม
เวลาครบกำหนด  (Maturity)
                 คือวันที่ผู้ซื้อและผู้ขายต้องปฏิบัติตามสัญญา คือ ชำระราคาและส่งมอบ (หรือล้างสถานะ) แล้วแต่กรณี จึงเรียกวันครบกำหนดตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าอนาคตว่า “Settlement Date”
วิธีชำระราคาและส่งมอบ  (Clearing and Settlement)
                 เมื่อเกิดธุรกรรมการซื้อหรือขายอนุพันธ์นั้นขึ้นมา จะชำระราคาหรือส่งมอบสินทรัพย์กันอย่างไรต้องพิจารณาว่าสินทรัพย์อ้างอิงนั้นเป็นประเภทใด บางกรณีอาจจะมีการส่งมอบสินทรัพย์กันจริง ๆ แต่สินค้าบางอย่างไม่สามารถส่งมอบได้จริง จะใช้วิธีทำการชำระเงินสดจากส่วนต่างของราคา (Cash Settlement) เช่น การซื้อขายดัชนีราคาหลักทรัพย์

ภาระผูกพันตามสัญญาฟิวเจอร์ส
     ปฏิบัติตามสัญญาฟิวเจอร์สเมื่อถึงเวลาครบกำหนด
     ผู้ขายส่งมอบสินค้าอ้างอิงให้กับผู้ซื้อ และรับชำระเงินค่าสินค้าหรือบางกรณีที่ไม่สามารถส่งมอบสินค้ากันจริง ๆ ได้ จะใช้วิธีชำระราคาเป็นเงินสดตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
ล้างภาระผูกพันโดยทำรายการตรงกันข้ามกัน
     ผู้ลงทุนที่ต้องการรับรู้กำไร/ขาดทุนก่อนถึงเวลาครบกำหนดสามารถล้างภาระผูกพันที่มีอยู่ โดยทำรายการซื้อขายในลักษณะตรงกันข้ามกับรายการที่เคยทำไว้เรียกว่า “Offset Transaction”  โดยผู้ค้าจะสร้างฐานะที่ตรงกันข้ามกับฐานะที่ตนเป็นอยู่ก่อนวันครบสัญญาดังกล่าว และให้ฐานะที่ตรงกันข้ามนี้ มีวันครบกำหนดสัญญาที่ตรงกัน นั้นคือ ผู้ค้าที่อยู่ในฐานะ Long จะขายสัญญา Futures ที่ตนครอบครองอยู่ในจำนวนเท่ากับที่ถือไว้ ส่วนผู้ค้าที่อยู่ในฐานะ Short  จะซื้อสัญญา Futures ตามที่ได้สร้างฐานะไว้ตอนเปิดสถานภาพ การทำเช่นนี้จึงเป็นการล้างฐานะเดิมให้หมดไป กลไกที่ช่วยให้การสร้างและการล้างฐานะของผู้ค้าเป็นไปอย่างสะดวกได้แก่ กลไกของสำนักหักบัญชีอนุพันธ์ (Clearing House) ซึ่งเข้ามาเป็นคู่ค้าให้ผู้ซื้อและผู้ขาย
ออปชั่น (Options)
                 เป็นสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ขายให้สิทธิแก่ผู้ซื้อที่จะซื้อ (หรือขาย) สินค้าอ้างอิงตามจำนวน ราคา และภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา โดยผู้ซื้อต้องจ่ายเงินค่าสัญญาสิทธิดังกล่าวเรียกว่า ค่าพรีเมียม (Premium) ให้กับผู้ขายเพื่อแลกกับการได้สิทธินั้น ผู้ซื้อจะใช้สิทธิหรือไม่ก็ได้แต่ผู้ขายมีภาระต้องปฏิบัติตามสัญญาคือขายสินค้า (หรือซื้อสินค้าจาก) ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อใช้สิทธิตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา
ออปชั่น แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                  คลอออปชั่น (Call Options)หมายถึงสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังต่อไปนี้
     สิทธิจะซื้อ สินค้า อ้างอิงกับผู้ออกออปชั่นตามจำนวนและราคาที่ระบุไว้ภายในระยะเวลาหรือ ณ วันที่ได้กำหนดไว้
     สิทธิที่จะเรียกให้ผู้ออกออปชั่นชำระเงิน เมื่อราคาของสินค้าอ้างอิงหรือระดับตัวเลขของตัวแปรอ้างอิง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาของระดับตัวเลขที่กำหนดไว้ในสัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น